อาหารไทย ในแต่ละภาคนั้นมีความหลากหลาย และแตกต่างกันออกไปในแต่ละภูมิภาค ในบทความนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับเมนู อาหารใต้ ที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใครที่รสชาติเผ็ดร้อนจัดจ้าน และใช้เครื่องเทศสมุนไพรในการปรุงอาหาร และช่วยดับกลิ่นคาวของอาหารทะเลที่นำมาประกอบอาหาร ซึ่งวิธีการนี้ได้รับอิทธิพลผสมผสานมาจากอินเดีย จีน และชวา ในตอนที่เป็นศูนย์กลางการค้า การเดินเรือในอดีต
ทำความรู้จัก 6 สูตร อาหารใต้ ยอดนิยม การผสมผสานที่อร่อยลงตัว
อาหารใต้ ส่วนใหญ่จะมีรสชาติเผ็ดมากกว่า เมนูอาหารไทย ภาคอื่น นั่นก็เป็นเพราะว่าสภาพภูมิศาสตร์ติดทะเล มีสภาพร้อนชื้น และฝนตกบ่อยครั้ง จึงต้องประกอบอาหารให้มีรสจัดเพื่อให้ร่างกายอบอุ่นขึ้น อีกทั้งยังช่วยป้องกันการเจ็บป่วยได้อีกด้วย โดย อาหารใต้แนะนำ นั้นมีอยู่หลายเมนูด้วยกัน ทำให้มีรสชาติที่แตกต่างกันตามไปด้วย และในบทความนี้ https://avenueb-pgh.com/ จะขอหยิบยก อาหารใต้แบบง่ายๆ ที่ได้รับความนิยมมาบอกต่อให้ได้ลองทำตามกันเองที่บ้าน ใครชอบทานรสชาติใดก็สามารถนำ สูตรอาหาร ของเราไปทำตาม และปรุงรสเพิ่มลดได้ตามชอบ
1. คั่วกลิ้ง หมู
สำหรับเมนูแรกของเราคือ เมนู คั่วกลิ้ง อาหารใต้ รสชาติจัดจ้านเผ็ดร้อน หอมกลิ่นเครื่องเทศที่ใช้เป็นส่วนผสม อีกทั้งยังเป็น อาหารมีประโยชน์ จากสมุนไพรนาๆชนิด เป็นจานเด็ดที่นิยมรับประทานกันทั่วประเทศ โดยเฉพาะ ร้านอาหารใต้ ขอบอกเลยว่าต้องลองชิมกันดูสักครั้ง รับรองได้เลยว่าต้องติดใจอย่างแน่นอน และชื่อของ เมนูคั่วกลิ้ง นี้มีที่มาจากวิธีการทำอาหารที่ต้องผัดเครื่องเทศกับเนื้อสัตว์บด เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว กระดูกหมูให้เข้ากันดี มีความแห้งจนสามารถกลิ้งไปมาในกระทะได้
วัตถุดิบ ทำคั่วกลิ้ง หมู
- หมูสับ 1,000 กรัม
- พริกแกงใต้ 100 กรัม
- น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ
- น้ำตาลทราย 1 ช้อนชา
- ผงชูรส 1/2 ช้อนชา (ใส่หรือไม่ใส่ก็ได้)
- ตะไคร้ซอย ปริมาณตามชอบ
- พริกไทยอ่อน ปริมาณตามชอบ
- ใบมะกรูดซอย ปริมาณตามชอบ
- น้ำเปล่า สำหรับผัดพริกแกงเล็กน้อย
ขั้นตอนวิธีการทำ
- ขั้นตอนแรกในการทำ คั่วกลิ้ง หมู เริ่มจากการเปิดเตาตั้งกระทะให้ร้อนด้วยไฟกลาง ใส่น้ำกับพริกแกงใต้ลงไปผัดให้หอม ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาลทราย และผงชูรส ผัดคลุกเคล้าให้เข้ากัน
- เมื่อได้รสชาติตามที่ชอบแล้วให้ใส่หมูสับลงไปในกระทะ ผัดคลุกเคล้าให้ส่วนผสมเข้ากันดี และไม่ให้เนื้อหมูติดกันจนเกินไป เมื่อผัดต่อไปสักพักจะเห็นว่าหมูจะคลายน้ำออกมา ให้ผัดต่อให้งวดแห้ง
- เมื่อเนื้อสุกได้ที่แล้วให้ใส่ตะไคร้ซอย พริกไทยอ่อน และใบมะกรูดซอยลงไปผัดให้เข้ากันจนส่งกลิ่นหอม เสร็จแล้วปิดเตานำไปจัดเสิร์ฟได้เลย
2. หมูผัดกะปิ อาหารใต้ ใส่สะตอ
อีกหนึ่งอาหารขึ้นชื่อของภาคใต้ หมูผัดกะปิ เป็นเมนูที่แสดงเอกลักษณ์ของภาคใต้อย่างชัดเจน จากการนำวัตถุดิบพื้นบ้านอย่างกะปิมาประกอบอาหาร เมื่อรับประทานไปแล้วจะสัมผัสได้ถึงความนุ่มลิ้นของหมูสามชั้นติดมัน รสชาติเข้มข้นกลมกล่อม หอมอร่อย และสำหรับขั้นตอน วิธีทำอาหารใต้ เมนูนี้ก็แสนง่ายดาย ไม่ว่าคุณจะอยู่ภาคไหนก็สามารถทำรับประทานเองได้ที่บ้าน
วัตถุดิบ ทำหมูผัดกะปิ
- หมูสามชั้น หั่นชิ้น 1 กิโลกรัม
- น้ำมันพืช 3 ช้อนโต๊ะ
- กะปิเคย 2 1/2 ช้อนโต๊ะ
- หอมแดง หั่นชิ้น 10 หัว
- กระเทียมจีน 5 กลีบ
- พริกขี้หนูสวน 2 ช้อนโต๊ะ
- น้ำเปล่า 250 มิลลิลิตร
- น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ
- น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ
- ซอสหอยนางรม 2 ช้อนโต๊ะ
- ผงชูรส 1 ช้อนชา (ใส่หรือไม่ใส่ก็ได้)
- ใบมะกรูดฉีก 10 ใบ
- พริกลูกโดด 30 เม็ด
- น้ำมะนาว 1 ช้อนชา
ขั้นตอนวิธีการทำ
- ขั้นตอนแรกในการทำ หมูผัดกะปิ เริ่มจากการนำหอมแดง กระเทียม พริกลูกโดด และกะปิ ลงไปโขลกรวมกันให้พอหยาบ
- ตั้งกระทะเปิดเตาด้วยไฟอ่อน ใส่น้ำมันพืชลงไป ตามด้วยส่วนผสมที่เตรียมไว้ในขั้นตอนแรกลงไปผัดคลุกเคล้าให้ส่งกลิ่นหอม และหอมแดงสุกใส จากนั้นใส่เนื้อหมูลงไป ปรับไฟเป็นไฟกลางแล้วผัดให้เข้ากันจนกระทั่งหมูสุก เติมน้ำเปล่าลงไปเคี่ยวหมูให้นุ่ม ผัดต่อสักพักให้หมูนุ่มได้ที่ และน้ำเหลือพอขลุกขลิก ชิมรสแล้วปรุงเพิ่มด้วยน้ำตาล น้ำปลา ผงปรุงรส และซอสหอยนางรม ผัดคลุกเคล้าให้เข้ากัน
- ใส่ใบมะกรูดลงไปผัดต่อให้หอม สุดท้ายปิดเตา ใส่น้ำมะนาวลงไปตัดรสให้เข้มข้น และใส่พริกลูกโดดลงไปเพิ่มสีสัน และความจัดจ้าน เพียงเท่านี้ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอน
3. แกงเหลือง หรือ แกงส้มหน่อไม้ดอง
แกงเหลือง อาหารพื้นบ้าน ของชาวใต้ มีรสชาติร้อนแรงเป็นเอกลักษณ์ เปรี้ยวนำ เค็มตาม และหวานเล็กน้อย ชาวใต้บางส่วนมักจะเรียกว่า แกงส้ม เนื่องจากรสชาติที่เปรี้ยวนำหน้ารสอื่นๆ วัตถุดิบหลักที่ขาดไม่ได้เลยของเมนูนี้ก็คือขมิ้น ที่มีส่วนช่วยให้มีสีสันเหลืองสวยน่ารับประทาน และยังช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ที่ใส่ลงไป นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณมากมายที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ช่วยขับลม รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ฯลฯ
วัตถุดิบ ทำแกงเหลือง
- หน่อไม้ดอง ล้างสะอาด และต้มสุก 1 ถ้วย
- ปลาทรายแดง หั่นชิ้น หรือปลาชนิดอื่นๆ 3 ตัว
- น้ำมะขามเปียก 1 ถ้วย
- น้ำปลา 3 ช้อนโต๊ะ
- น้ำตาลปี๊บ 1 ช้อนโต๊ะ
- พริกแห้ง ½ ถ้วย
- หอมแดง 7 หัว
- กระเทียม 2 กลีบ
- กะปิ 1 ช้อนโต๊ะ
- ขมิ้นซอย 1 แง่ง
- น้ำเปล่า 1500 มิลลิลิตร
ขั้นตอนวิธีการทำ
- ขั้นตอนแรกในการทำ แกงเหลือง เริ่มจากการโขลกเครื่องแกงให้ละเอียด (พริกแห้ง ขมิ้น กระเทียม หอมแดง กะปิ) จากนั้นตั้งหม้อต้มน้ำให้เดือดแล้วใส่พริกแกงที่เตรียมไว้ลงไปคนให้ละลายเข้ากัน ต้มต่อให้ส่งกลิ่นหอม และเดือดขึ้นมาอีกครั้ง
- ปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊บ น้ำปลา และน้ำมะขามเปียก คนให้เข้ากัน ชิมรสชาติแล้วปรุงเพิ่มได้ตามชอบ ต้มต่อรอให้เดือด จากนั้นใส่หน่อไม้ดองลงไปคนให้แตกตัว เคี่ยวต่อเป็นเวลาประมาณ 5 – 10 นาที และใส่เนื้อปลาลงไปต้มให้สุก เพียงเท่านี้ก็เป็นอันเสร็จสิ้น นำไปรับประทานได้เลย
4. แกงคั่วหอยขม
แกงคั่วหอยขม เมนูแกงโบราณ ที่หลายๆคนชื่นชอบ และมักจะสั่งมารับประทานกันอยู่เป็นประจำ รวมถึงตัวผู้เขียนเองที่ชอบทำรับประทานเองอยู่บ่อยๆ เพราะมีรสชาติเข้มข้นกลมกล่อมถูกใจ หวานมันกะทิ เผ็ดเล็กน้อย และหอมเครื่องแกงในทุกคำที่ได้รับทาน แถมหอยขมยังอุดมไปด้วยโปรตีน และคอลลาเจนที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่อาจจะหาซื้อยากไปเสียหน่อย หากใครอยากลองทำทานเองดูสักครั้ง แนะนำให้ไปหาซื้อจากตลาดสด หรือตลาดขายของพื้นบ้านนะคะ บางแหล่งมีการแกะให้เรียบร้อยแล้ว สะดวกต่อการทำ และรับประทานมากๆค่ะ
วัตถุดิบ ทำแกงคั่วหอยขม ใบชะพลู
- หอยขม 500 กรัม
- ใบชะพลูอ่อน ซอย 100 กรัม
- หัวกะทิ 400 มิลลิลิตร
- หางกะทิ 300 มิลลิลิตร
- พริกแกงใต้ 30 กรัม
- น้ำตาลปี๊บ 1 1/2 ช้อนโต๊ะ
- น้ำปลา 3 1/2 ช้อนโต๊ะ
ขั้นตอนวิธีการทำ
- ขั้นตอนแรกในการทำ แกงคั่วหอยขมใบชะพลู เริ่มจากการตั้งกระทะเปิดเตาด้วยไฟกลาง แล้วใส่หัวกะทิในปริมาณ ½ ของที่เตรียมไว้ลงไปผัดให้แตกมัน ต่อด้วยการใส่พริกแกงใต้ลงไปผัดต่อให้เข้ากัน จนส่งกลิ่นหอมฟรุ้ง แล้วใส่กะทิส่วนที่เหลือลงไปผัดต่อให้เข้ากัน
- เมื่อส่วนผสมในขั้นตอนแรกเดือดได้ที่แล้ว ใส่หอยขมลงไปผัดคลุกเคล้าให้เข้ากัน รอให้เดือดอีกครั้งแล้วใส่ใบชะพลูซอยลงไปเพิ่มกลิ่นหอม และรอให้สุกดี
- ปรุงรสชาติด้วยน้ำตาลปี๊บ และน้ำปลา คนให้เข้ากันแล้วชิมรส หากถูกใจแล้วปิดเตานำมาจัดเสิร์ฟได้ทันที
5. น้ำพริกกุ้งเสียบ
กุ้งเสียบ เป็นการถนอมอาหารของชาวใต้ในพื้นที่ติดทะเล โดยนำกุ้งเหล่านั้นมาแกะเปลือกแล้วเสียบไม้ ก่อนจะนำไปปิ้งกับไฟอ่อนๆจนตัวกุ้งแห้งลง สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด แต่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดก็เห็นจะเป็นเมนู น้ำพริกกุ้งเสียบ ที่มีรสชาติอร่อยครบรส ทั้งเปรี้ยว เผ็ด เค็ม หวาน รับประทานพร้อมกับข้าวสวยร้อนๆ และผักเครื่องเคียงตามชอบ
วัตถุดิบ ทำน้ำพริกกุ้งเสียบ
- กุ้งแห้งตัวใหญ่ 200 กรัม
- พริกป่น 80 กรัม
- กระเทียม 150 กรัม
- หอมแดงซอย 200 กรัม
- น้ำมะขามเปียกเข้มข้น 100 กรัม
- น้ำตาลปี๊บ 100 กรัม
- กะปิ 2 ช้อนโต๊ะ
ขั้นตอนวิธีการทำ
- ขั้นตอนแรกในการทำ น้ำพริกกุ้งเสียบ เริ่มจากการตั้งกระทะเปิดเตาด้วยไฟอ่อน ใส่พริกแห้งลงไปคั่วให้หอม เสร็จแล้วนำไปบดให้ละเอียด ต่อด้วยการคั่วกุ้งแห้งให้กรอบแห้งได้ที่ เสร็จแล้วปิดเตานำไปพักไว้เตรียมทำขั้นตอนต่อไปได้เลย
- ตั้งกระทะด้วยไฟกลางค่อนอ่อนใส่น้ำมันรอให้ร้อน ก่อนจะใส่กระเทียมลงไปเจียวให้หอม สุกเหลือง และกรอบดี จากนั้นนำไปกรองด้วยตะแกรงพักไว้ให้สะเด็ดน้ำมัน แล้วใส่หอมแดงซอยลงไปเจียวต่อให้สุกเหลืองอ่อน หากเหลืองเกินไปจะทำให้หอมแดงของเราขมจนเกินไป เสร็จแล้วพักไว้ในตะแกรงพักไว้ให้สะเด็ดน้ำมัน
- ตั้งกระทะใส่น้ำมันเล็กน้อย นำกะปิลงไปผัดให้หอม ตามด้วยน้ำมะขามเปียกลงไปผัดคลุกเคล้าให้เข้ากัน ปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊บ ผัดต่อให้ละลายเข้ากันดี ชิมรสชาติแล้วปรุงเพิ่มได้ตามต้องการ หากพอใจแล้วปิดเตา ก่อนจะใส่กระเทียมเจียว หอมแดงเจียว และกุ้งแห้งลงไปผัดให้เข้ากันดี สุดท้ายเติมพริกป่นลงไปเพิ่มรสเผ็ด คนให้เข้ากันดี เพียงเท่านี้ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอน
6. ไก่กอและ หรือ ไก่ฆอและ อาหารใต้ หาทานยาก
ไก่กอและ หรือที่ชาวใต้เรียกกันว่า ไก่ฆอและ ชื่อของเมนูนี้มาจากคำว่า GOLEK ซึ่งเป็นภาษามลายู หมายถึงการกลิ้ง เชื่อกันว่าหมายถึงกรรมวิธีการทำที่มีการนำไก่ไปปิ้งพลิกกลับไปมาบนไฟ ก่อนจะราดน้ำเครื่องแกงแล้วย่างไฟอีกครั้ง ส่วนเครื่องแกงที่ใช้จะมีรสชาติหวานนำ เผ็ดเล็กน้อย เหมาะกับคนไม่ทานเผ็ด
วัตถุดิบสำหรับ หมักไก่กอและ
- เนื้อไก่ส่วนสะโพก เลาะกระดูก 6 ชิ้น
- เกลือป่น 1 ช้อนชา
- พริกไทยป่น 1/2 ช้อนชา
- ขมิ้นปอกเปลือกหั่นชิ้น 25 กรัม
- กระเทียมจีน 2 กลีบ
- หัวกะทิ 120 มิลลิลิตร
วัตถุดิบ ทำเครื่องแกงไก่กอและ
- พริกชี้ฟ้าแห้งแกะเมล็ดแช่น้ำให้นิ่ม 15 เม็ด
- หอมแดงหั่นหยาบ 100 กรัม
- กระเทียมไทย 30 กรัม
- ขิงซอย 15 กรัม
- หัวกะทิ 500 มิลลิลิตร
- กะปิ 1 ช้อนชา
- น้ำตาลมะพร้าว 130 กรัม
- น้ำมะขามเปียกคั้นข้น 2 ช้อนโต๊ะ
- น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ
- น้ำมัน 2 ช้อนโต๊ะ
ขั้นตอนวิธีการทำ
- ขั้นตอนแรกในการทำ ไก่กอและ เริ่มจากการโขลกเครื่องหมักไก่ให้ละเอียด (ขิงซอย กระเทียมจีน เกลือป่น) ก่อนจะใส่เนื้อไก่ที่เลาะกระดูกแล้วใส่ลงไปในชามผสม ตามด้วยเครื่องหมักไก่ที่เตรียมไว้ หัวกะทิ และพริกไทยป่น ใช้มือนวดคลุกเคล้าให้เข้ากัน ห่อชามผสมด้วยฟิล์มถนอมอาหารแล้วนำไปแช่ในตู้เย็นอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
- ต่อมาเป็นขั้นตอนการทำ เครื่องไก่กอและ นำพริกชี้ฟ้าแห้งไปโขลกให้ละเอียด ตามด้วยกระเทียม ขิงซอย หอมแดงหั่นหยาบ และกะปิ โขลกรวมกันให้ละเอียดดี
- ตั้งกระทะด้วยไฟกลาง ใส่น้ำมันพืชลงไปรอให้ร้อน จากนั้นใส่เครื่องแกงที่เตรียมไว้ในขั้นตอนที่ 2 ลงไปผัดให้หอม ใส่หัวกะทิที่เตรียมไว้ลงไปผัดคลุกเคล้าต่อให้เข้ากันดี ต้มต่อสักครู่ให้เครื่องแกงเดือดดี จากนั้นปรุงรสด้วยน้ำตาลมะพร้าว น้ำปลา และน้ำมะขามเปียก คนให้ละลายดีแล้วปรับไฟลดลงเป็นไฟอ่อน เคี่ยวต่อไปจนส่วนผสมมีความเข้มข้นขึ้น เสร็จแล้วชิมรสชาติ และปรุงเพิ่มได้ตามชอบ ปิดเตานำมาพักไว้ให้เย็น
- เมื่อหมักไก่จนได้ที่แล้วให้นำออกมาหนีบด้วยไม้หนีบไก่ มัดปลายไม้ด้วยตอก นำไก่ที่เสียบไม้เรียบร้อยแล้วไปนึ่งให้พอสุกเป็นเวลาประมาณ 10 นาที เพื่อลดเวลาในการย่าง ลดกลิ่นสาปไก่ และช่วยให้เนื้อไก่นุ่มขึ้น
- หลังจากนึ่งไก่จนสุกแล้วให้นำไปคลุกกับเครื่องแกงที่เตรียมไว้ให้ทั่วตัวไก่ ก่อนจะนำไปย่างด้วยเตาถ่านด้วยไฟกลางค่อนอ่อน ระหว่างย่างต้องหมั่นกลับด้านไก่ เพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องแกงไหม้จนเกินไป เมื่อเครื่องแกงแห้งแล้วให้นำไก่ไปชุบเครื่องแกงอีกรอบให้ทั่วตัวไก่ แล้วนำไปย่างอีกรอบ หากสุกดีแล้วสามารถนำมารับประทานได้เลย หรือหากใครชอบแบบฉ่ำๆก็สามารถทาเครื่องแกงเพิ่มอีกรอบได้นะคะ
บทสรุป
เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับ 6 สูตร อาหารใต้ ยอดนิยมที่เรานำมาแนะนำให้ได้รู้จัก และลองทำตามกัน แม้วัตถุดิบจะมากมายไปเสียหน่อย เพราะต้องใช้เครื่องเทศสมุนไพรในการประกอบอาหารเยอะ แต่ขั้นตอนการ ทำอาหารใต้ นั้นแสนจะง่ายดาย บางสูตรใช้เวลาในการทำเพียงชั่วครู่เท่านั้น เชื่อว่าหากใครชอบรับประทานอาหารรสชาติจัดจ้านแล้วต้องชื่นชอบกันอย่างแน่นอน แต่หากใครไม่ทานเผ็ดก็สามารถลดปริมาณพริกแกงลงได้