ทองหยอด สูตรขนมไทยตระกูลทอง ขนมมงคลความหมายดี รสหวานฉ่ำ

ทองหยอด
สารบัญบทความ

ขนมไทยตระกูลทอง หรือที่เรามักจะเรียกกันว่า ขนมไทยมงคล คือ ขนมไทยที่ชื่อมีความหมายเป็นสิริมงคลตามความเชื่อของคนไทย จึงได้มีการนำขนมเหล่านี้มาเป็นส่วนหนึ่งในพิธีมงคลต่างๆ เช่น งานมงคลสมรส หรือแม้แต่งานเฉลิมฉลองต่างๆที่ถูกจัดขึ้นมา และมอบให้แก่กันเพื่อเป็นการอวยพร โดยขนมไทยตระกูลทองนั้นมีอยู่ด้วยกัน 9 อย่าง คือ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง เม็ดขนุน ทองเอก ดาราทอง ถ้วยฟู ขนมชั้น เสน่ห์จันทน์ ซึ่งขนมแต่ละชนิดล้วนแล้วแต่มีชื่อที่แฝงไปด้วยความหมายอันดี และในบทความนี้เรา https://avenueb-pgh.com/ จะขอพาไปทำความรู้จักกับหนึ่งในขนมไทยตระกูลทอง ขนมทองหยอด กันให้มากขึ้น

ประวัติ ทองหยอด ขนมไทยที่ถูกดัดแปลงมาจากขนมโปรตุเกส

ประวัติ ทองหยอด เป็นขนมไทยที่ถูกรังสรรค์ขึ้นมาโดยท่านผู้หญิงวิชเยนทร์ ภริยาของพระยาวิชเยนทร์ (นามเดิม มารี นินยา เดอ กีย์มาร์) หรือท้าวทองกีบม้า ซึ่งเป็นสตรีที่มีเชื้อสายญี่ปุ่น – โปรตุเกส มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าผู้ปรุงอาหารหลวง ท่านได้นำ สูตรอาหาร จากโปรตุเกสมารังสรรค์ดัดแปลงให้กลายเป็น ขนมไทย เมนูใหม่อยู่หลายเมนู จากเดิมที่ไทยใช้เพียงแป้ง กะทิ น้ำตาล และมะพร้าวมาทำขนม ก็แปรเปลี่ยนมาใช้ไข่เป็นส่วนผสม 

ขนมทองหยอด ถูกดัดแปลงมาจากขนมโปรตุเกสที่มีชื่อว่า OVOS MOLES (อวุช มอลึช) ซึ่งมีรูปร่างคล้ายคลึงกับเปลือกหอยห่อหุ้มด้วยไส้สีเหลืองนวล มีถิ่นกำเนิดจากเมืองอเวโรชายฝั่งทางตะวันตกเฉียงเหนือ ในประเทศโปรตุเกส และท้าวทองกีบม้าได้รังสรรค์ให้ขนมต่างประเทศเมนูนี้ กลายเป็น ขนมไทยโบราณ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อปี พ.ศ. 2201 กลายเป็นขนมชั้นดีที่รับประทานกันในวัง ก่อนจะเป็นที่รู้จัก และได้รับความนิยมในเวลาต่อมาจนถึงปัจจุบัน

ทองหยอด

ขนม ทอง หยอด ชื่อนี้มีความหมาย

ขนม ทองหยอด ในปัจจุบันมีรูปร่างลักษณะคล้ายหยดน้ำ สีเหลืองนวลสวยงาม รสชาติหวานฉ่ำ เนื้อสัมผัสนุ่มลิ้น หอมกลิ่นควันเทียน และกลิ่นดอกมะลิ จึงกลายเป็น ขนมไทยยอดนิยม ที่ส่งต่อกันมารุ่นสู่รุ่น นอกจากนี้ ความหมายของทองหยอด เปรียบเสมือนทองคำ จึงถูกใช้ประกอบในพิธีมงคล หรือมอบเป็นของขวัญให้กับคนพิเศษในวันสำคัญต่างๆ เช่น วันเกิด วันแต่งงาน วันเลื่อนตำแหน่ง ฯลฯ แทนคำอวยพรให้ร่ำรวย มีเงินทองใช้ไม่หมดสิ้น และยังใช้อวยพรให้คู่รักมีความรักที่ยืนยาวอีกด้วย

ประโยชน์ที่จะได้รับจากการทาน ทอง หยอด

แม้ว่าการทาน ขนมหวาน จะทำให้น้ำหนักขึ้น จนสาวๆที่ดูแลหุ่นหลายคนพยายามหลีกเลี่ยง แต่ก็ไม่ใช่ว่าไม่มีประโยชน์เลย เพราะวัตถุดิบที่ใช้ทำ ทองหยอด ล้วนแล้วแต่ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย ยกตัวอย่างเช่นวัตถุดิบหลักสองอย่าง คือ แป้งข้าวเจ้า ที่อุดมไปด้วยเส้นใยสูง ช่วยกำจัดของเสียในร่างกาย ไขมันอิ่มตัวคอเลสเตอรอล และโซเดียมต่ำ อีกทั้งยังมีโคลีน ช่วยบำรุงตับให้แข็งแรง จึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่กำลังรักษาตับ

ประโยชน์จาก ไข่แดง ของไข่เป็ด ซึ่งเป็นแหล่งอุดมสารอาหาร แร่ธาตุ วิตามิน เช่น โปรตีน ฟอสฟอรัส ซีลีเนียมไอโอดีน กรดไขมันไลโนเอลิก วิตามินเอ ดี บี 12 โฟเลต ไรโบฟลาวิน เลซิทิน เป็นต้น ซึ่งสารอาหารเหล่านี้จะช่วยบำรุงร่างกายให้เจริญเติบโต ป้องกันโรคโลหิตจาง ป้องกันการอุดตันในเส้นเลือด เสริมสร้างเซลล์ผิวหนัง ขน เล็บ บำรุงสมอง บำรุงประสาท และยังช่วยเผาผลาญไขมัน ดังนั้น การ ทานขนม ทอง หยอด จึงนับว่ามีประโยชน์อยู่มาก แต่ควรทานในปริมาณที่พอเหมาะ และเลือกทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ร่วมกับการออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงของเรานะคะ

ทองหยอด

วัตถุดิบ และขั้นตอนวิธีทำทองหยอด ขนมหวานไทยมงคล

นอกจาก ทองหยอด จะเป็น 1 ใน ขนมไทย มงคล แล้วยังเป็น ขนมไทยทำง่าย ที่ไม่ต้องใช้ความพิถึพิถันมากมายเหมือนอย่างขนมไทยเมนูอื่น และยังใช้วัตถุดิบในการทำน้อย เหมาะสำหรับมือใหม่ที่กำลังหัดทำขนม และสำหรับเคล็ดไม่ลับสำหรับการทำ ขนม ทอง หยอด คือ การเลือกใช้ไข่แดงของไข่เป็ดที่สดใหม่ แทนการใช้ไข่ไก่ เพราะมีขนาดใหญ่ และให้สีสวยสดกว่า ทำให้ขนมของเรามีสีสันสวยงามน่ารับประทาน ในขั้นตอนการแยกไข่แดงออกจากไข่ขาว แนะนำให้แยกไข่ขาวออกไปให้มากที่สุด เนื่องจากไข่ขาวจะทำให้ขนมของเรามีลักษณะแข็งกระด้าง 

วัตถุดิบทำตัว ขนมทองหยอด

  1. แป้งข้าวเจ้าอบควันเทียน 90 กรัม
  2. ไข่แดงของไข่เป็ด 10 ฟอง

วัตถุดิบทำน้ำเชื่อมใส

  1. น้ำลอยดอกมะลิ หรือน้ำเปล่า 400 มิลลิลิตร
  2. น้ำตาลทรายขาว 400 มิลลิลิตร
  3. ใบเตยมัด 5 ใบ

วัตถุดิบทำน้ำเชื่อมข้น

  1. น้ำลอยดอกมะลิ หรือน้ำเปล่า 600 มิลลิลิตร
  2. น้ำตาลทรายขาว 1000 กรัม
  3. ใบเตยมัด 5 ใบ 
  4. เปลือกของไข่เป็ด ล้างสะอาด 2 ฟอง

ขั้นตอนวิธีการทำ ขนม ทอง หยอด เนื้อฉ่ำ

  1. ขั้นตอนแรกในการทำ ทองหยอด เริ่มจากการทำน้ำเชื่อมใส ให้ใส่ใบเตย น้ำลอยดอกมะลิ และน้ำตาลทรายลงไปในหม้อ จากนั้นนำไปเคี่ยวด้วยไฟกลางให้ส่วนผสมละลายเข้ากัน และนำไปกรองด้วยตะแกรงใส่ลงไปในชามผสม พักไว้ให้น้ำเชื่อมใสเย็นสนิท 
  2. นำไข่แดงของไข่เป็ดมาตีด้วยเครื่องผสมอาหาร หรือตะกร้อมือจนขึ้นฟูเป็นเวลาประมาณ 10 นาที แล้วใส่แป้งข้าวเจ้าอบควันเทียนที่เตรียมไว้ลงไป ตะล่อมให้เข้ากันด้วยไม้พาย (หากคนนานเกินไป ไข่แดงจะเหนียวจนมีความแข็งกระด้าง) 
  3. ต่อมาเป็นขั้นตอนการทำน้ำเชื่อมข้น ใส่น้ำตาลทราย และเปลือกของไข่เป็ดลงไปในหม้อ จากนั้นใช้มือขยำเปลือกไข่เป็ดให้เข้ากับน้ำตาลทราย (วิธีนี้จะช่วยจับฝุ่นละอองในน้ำตาลทราย ทำให้น้ำเชื่อมใสกว่าปกติ) และใส่น้ำลอยดอกมะลิ และใบเตยลงไป ก่อนจะนำไปเคี่ยวด้วยไฟกลางค่อนอ่อนให้ส่วนผสมละลายดีแล้วนำไปกรองด้วยผ้าขาวบาง ใส่ลงไปในกระทะทองเหลือง และต้มจนน้ำเชื่อมเดือดจัด ขึ้นฟองแล้วจึงจะสามารถทำขั้นตอนต่อไปได้
  4. เมื่อน้ำเชื่อมเดือดได้ที่แล้วให้ตักส่วนผสมในขั้นตอนที่ 2 หรือส่วนผสมของตัวขนม หยอดลงไปในน้ำเชื่อมที่กำลังเดือดพล่าน ต้มต่อเป็นเวลา 8 นาที หรือจนกว่าขนมจะสุกดี แล้วจึงใช้กระชอนตักขนมขึ้นมาแช่ไว้ในน้ำเชื่อมใสเป็นเวลา 10 นาที เพื่อลดอุณหภูมิความร้อน และเพิ่มความเงาใสให้ตัวขนม ก่อนจะหยอดขนมในรอบต่อไปให้กรองเศษไข่ที่เหลือออกให้หมด และเทน้ำลอยดอกมะลิลงไปเจือจาง จากนั้นเปิดเตารอให้เดือดจัดแล้วหยอดตัวขนมรอบต่อไปได้เลย
ทองหยอด

เคล็ดลับในการทำขนมทองหยอดให้อร่อย ไม่แพ้สูตรต้นตำรับ

หากอยากทำเมนู ทองหยอด ให้อร่อยแล้วละก็ นอกจากการเลือกใช้ไข่เป็ด ยังมีเคล็ดลับสำคัญอีกหนึ่งอย่างที่เราอยากบอกต่อ คือ การใช้น้ำที่มีกลิ่นหอมในการทำน้ำเชื่อม เช่น น้ำลอยดอกมะลิ (หากใครหาดอกมะลิไม่ได้ สามารถใช้สารแต่งกลิ่นมะลิแทนได้) เพื่อช่วยดับกลิ่นคาวของไข่เป็ด เพียงเท่านี้ ขนมหวาน ของเราก็จะปราศจากกลิ่นคาวกวนใจ ทานได้เพลินๆแล้วค่ะ และหากใครที่ไม่ชอบรสชาติที่หวานเลี่ยนจนเกินไป ก็สามารถลดปริมาณของน้ำตาลลง หรือลดเวลาแช่ทองหยอดไว้ในน้ำเชื่อมใสลง เพื่อให้ขนมมีรสชาติหวานถูกปากได้นะคะ

บทสรุป

ในปัจจุบันเราจะพบเห็น ทองหยอด ขายอยู่ทั่วไปตามตลาด หรือร้าน ขายขนมไทย เนื่องจากยังคงได้รับความนิยมอยู่อย่างต่อเนื่อง ด้วยความอร่อยหอมหวานถูกใจคนทุกเพศทุกวัย มีความหมายเป็นมงคล และมีประโยชน์ต่อร่างกาย ที่สำคัญเรายังสามารถทำเป็น ทองหยอดจิ๋ว ใช้ตกแต่งหน้าเค้กเพิ่มมูลค่าเค้กให้มีราคาสูงขึ้น จากการเพิ่ม ขนมไทยความหมายดี เข้าไปตกแต่งแทนคำอวยพรให้ร่ำรวยเงินทองได้อีกด้วย ดังนั้น อย่าพลาดที่จะทำขนมไทย เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมไทยของเรา ให้สืบต่อไปยังรุ่นลูกรุ่นหลาน ไม่ถูกลืมเลือนไปเหมือนอย่างขนมไทยบางเมนู 

ทองหยอด