หากพูดถึง ขนม หม้อแกง เราเชื่อว่าเป็นขนมไทยที่หลายคนรู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะยังคงเป็นที่ชื่นชอบของคนไทยทุกเพศทุกวัย โดยเป็นขนมไทยที่ทำมาจากไข่ แป้ง และกะทิ เป็นวัตถุดิบหลัก ตามหลัก สูตรขนมไทย ในสมัยโบราณ ด้วยความนิยมตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน ทำให้ เมนูขนมไทย เมนูนี้ถูกรังสรรค์ ดัดแปลงสูตรให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น เช่น หม้อแกงเผือก , หม้อแกงถั่ว , หม้อแกงไข่ , หม้อแกงหอมเจียว ฯลฯ ส่งผลให้ รสชาติของหม้อแกง มีความอร่อยกลมกล่อมมากขึ้นด้วยเช่นกัน
แนะนำ ขนม หม้อแกง ขนมไทยโบราณ ที่ทานกี่ครั้งก็ไม่มีเบื่อ
ขนม หม้อแกง หรืออีกชื่อที่เรียกกันในอดีตว่า ขนมกุมภมาศ (กุมภ แปลว่าหม้อ , มาศ แปลว่าทอง เรียกได้อีกชื่อว่า ขนมหม้อทอง สันนิษฐานกันว่าชื่อนี้มีที่มาจากหม้อที่ใช้ทำขนม และสีเหลืองทองของขนมที่สื่อความหมายอันเป็นมงคล) ขนมไทยหม้อแกงมีรสชาติหวานมันอร่อย เนื้อสัมผัสนุ่มนิ่มละลายในปาก มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวคือกลิ่นหอมของไข่สุดละมุน
ตัวขนมมักจะถูกบรรจุในภาชนะถาดใส่ขนมสี่เหลี่ยมอะลูมิเนียม สามารถพกพาไปรับประทานได้สะดวก ตัดแบ่งเป็นชิ้นเล็กๆได้คล้ายกับ ขนมเค้ก หรือจะตักทานจากถาดเลยก็อร่อยไม่แพ้กัน ใครได้ทานก็เป็นอันต้องติดใจกันทุกราย แต่ก่อนจะไปดู สูตรขนมไทย เมนูขนมหม้อแกงทำง่ายของ https://avenueb-pgh.com/ ในบทความนี้ เราไปทำความรู้จักกับเมนูนี้กันให้มากขึ้นก่อนนะคะ
ประวัติความเป็นมาของขนมหม้อแกง
ขนม หม้อแกง เป็นขนมหวานที่อยู่คู่คนไทยมาเป็นเวลานาน นับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หรือในสมัยอยุธยา โดยผู้ที่เป็นคนริเริ่มคิดค้น สูตรขนมหม้อแกง ขึ้นมาเป็นคนแรกก็คือราชินีขนมไทย ท้าวทองกีบม้า หรือ มารีอา กียูมาร์ ดึ ปีญา อีกเช่นเคย ซึ่งได้นำเอา ขนมโปรตุเกส มาดัดแปลงปรับเปลี่ยนสูตรให้ถูกปากคนไทย ด้วยการผสมผสานวัตถุดิบที่หลากหลายเข้าด้วยกัน
ขนมในวัง ถูกเผยแพร่ให้กลายเป็นที่ชื่นชอบของคนทั่วไป
ในอดีต ขนม หม้อแกง ขนมชาววัง เป็นที่รู้จัก และถูกทำขึ้นรับประทานในวังเท่านั้น จนกระทั่งเวลาต่อมาเมื่อลูกมือของท้าวทองกีบม้าได้แต่งงานกับคนนอกวัง และได้นำ สูตรขนม ออกไปถ่ายทอดให้ชาวบ้านนอกวังได้รู้จัก และลองทำรับประทานกันในครัวเรือน รสชาติแสนอร่อยของขนมทำให้กลายเป็น ขนมไทย ที่มีชื่อเสียงมาจนถึงปัจจุบัน
ขนมหม้อแกง ของดีเมืองเพชร
ขนมหม้อแกง ของดี ของขึ้นชื่อของจังหวัดเพชรบุรี เรียกได้ว่าหากต้องการรับประทาน หม้อแกงอร่อยๆ ต้อง หม้อแกงเมืองเพชร เท่านั้น ไม่ว่าใครไปเยือนเมืองเพชรบุรี เป็นอันต้องซื้อขนมหม้อแกงหลากหลายหน้ามารับประทาน และไม่พลาดที่จะซื้อกลับไปเป็น ขนมของฝาก กันอยู่เป็นประจำ
ในปี พ.ศ. 2529 จังหวัดเพชรบุรี ได้มีบูรณะสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญอย่าง พระนครคีรี ทำให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในละแวกนั้น ได้ทำ ขนมหม้อแกง ที่ได้รับการส่งต่อรุ่นสู่รุ่นมาทำจำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยว พร้อมดัดแปลงสูตรเพิ่มส่วนผสมให้แตกต่างกันออกไป ผสานกับเคล็ดลับการทำมากมาย เกิดเป็นหม้อแกงหลากหลายหน้า สามารถเลือกทานได้แบบไม่มีเบื่อเลยทีเดียว
สูตรขนมหม้อแกง ในปัจจุบันถูกดัดแปลงให้แตกต่างจากเดิม
อย่างที่เราได้กล่าวไปแล้วในข้างต้นว่า ขนมหม้อแกง ในปัจจุบันนั้นถูกดัดแปลงให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น เพื่อให้มีหน้าตาและรสชาติที่ถูกปากคนในยุคปัจจุบัน จึงไม่แปลกที่จะมีหน้าตาที่แตกต่างจากในอดีตไปบ้าง โดยส่วนใหญ่แล้วจะไม่มีหอมเจียวโรยหน้า , ไม่ใช้ไข่ขาวเพียงอย่างเดียว แต่จะใช้ไข่แดงในการทำด้วย , ใช้น้ำตาลโตนดแทนน้ำตาลทราย , เพิ่มส่วนผสมให้มีความหลากหลายมากขึ้น
วัตถุดิบ และขั้นตอนวิธีการทำ ขนม หม้อแกง ไข่ สูตรเนื้อนุ่มละมุนลิ้น
อยากทาน ขนมหม้อแกง ไม่ต้องเดินทางไปซื้อไกลถึงจังหวัด เพชรบุรี เพราะเราเองก็สามารถ ทำขนมไทย ทานเองได้ที่บ้าน โดยการอ่าน สูตรขนม หม้อแกง ที่เราได้นำมาบอกต่อกันในบทความนี้ ซึ่งนับได้ว่าเป็น ขนมไทยทำง่าย ใช้เตาอบทำได้ หรือใครไม่มีก็สามารถใช้เตาถ่าน ไมโครเวฟ หรือหม้ออบลมร้อนแทนได้เช่นกัน แต่อาจจะใช้เวลาในการทำที่แตกต่างกันเล็กน้อย
หากใครต้องการ ทำขนมหม้อแกง ทานด้วยตัวเอง เราก็จะพาคุณไปเตรียมวัตถุดิบ พร้อมขั้นตอนการทำง่ายๆเพียงไม่กี่ขั้นตอน ไม่ว่าคุณจะเคยทำขนมไทยมาก่อน หรือไม่เคยเข้าครัวทำขนมเลย ก็สามารถนำสูตรนี้ไปทำตามได้ รับรองว่าอร่อยไม่แพ้การซื้อมารับประทานจากร้านดังๆเลยค่ะ
วัตถุดิบ ทำหม้อแกงไข่
- ไข่ไก่เบอร์ 1 จำนวน 10 ฟอง
- น้ำตาลมะพร้าว อย่างดี 260 กรัม
- เกลือป่น 2/3 ช้อนชา
- หัวกะทิ 625 มิลลิลิตร
- แป้งข้าวเจ้า 25 กรัม
- ใบเตยหั่นท่อน 6 ใบ
- หอมแดงซอย 150 กรัม
- น้ำมันพืช 1 ถ้วย
- ถาดสำหรับใส่ขนม ขนาด 10*10*3 เซนติเมตร
ขั้นตอนวิธีการทำ
- ขั้นตอนแรกในการทำ ขนมหม้อแกง ไข่ เริ่มจากการตั้งกระทะเปิดเตาด้วยไฟกลางค่อนอ่อน ใส่น้ำมันลงไปแล้วรอให้ร้อน จากนั้นนำหอมแดงซอยใส่ลงไปเจียวให้มีสีเหลืองทอง และกรอบดี ปิดเตาพักไว้บนตะแกรงให้สะเด็ดน้ำมัน
- เตรียมชามผสมแล้วตอกไข่ไก่ที่เตรียมไว้ทั้ง 10 ฟองลงไป ตามด้วยเกลือป่น น้ำตาลมะพร้าว และใบเตย จากนั้นนวดคลุกเคล้าส่วนผสมทั้งหมดให้ละลายเข้ากันดี (การนวดพร้อมกับใบเตยจะช่วยดับกลิ่นคาวของไข่ได้) เมื่อส่วนผสมได้ที่แล้วให้ทยอยเติมหัวกะทิลงไประหว่างนวดจนหมด ใส่แป้งข้าวเจ้าลงไปนวดให้เข้ากันอีกครั้ง จนเนื้อแป้งเนียนดีไม่เป็นเม็ด แล้วนำไปกรองด้วยกระชอนใส่ชามผสม เพื่อแยกเศษใบเตย และเม็ดแป้งที่อาจหลงเหลืออยู่ การกรองจะช่วยให้ สังขยา มีเนื้อเนียนขึ้น
- เตรียม ถาดใส่ขนมหม้อแกง ทาน้ำมันลงไปให้ทั่วถาด ก่อนจะนำไปวางเรียงไว้บนถาดรองอบ ก่อนจะเทส่วนผสมของสังขยาที่เตรียมไว้ลงไปในถาดใส่ขนมช้าๆ โดยเหลือพื้นที่เผื่อให้เนื้อขนมฟูขึ้น จากนั้นใส่น้ำอุณหภูมิห้องลงไปที่ถาดรองอบ ความสูงประมาณ 1 เซนติเมตร เป็นวิธีการอบแบบรองน้ำเพื่อให้เนื้อขนมเนียนขึ้น
- วอร์มเตาอบด้วยอุณหภูมิ 190 องศา ไฟบนล่าง ไม่เปิดพัดลม ก่อนจะนำ ขนม หม้อ แกง เข้าเตาอบด้วยอุณหภูมิเท่าเดิมเป็นเวลา 35 นาที หรือจนกว่าขนมจะสุกดี (วิธีเช็กว่าขนมของเราสุกแล้วหรือยัง ให้นำไม้จิ้มฟันจิ้มลงไปที่หน้าขนม หากดึงขึ้นมาแล้วไม่มีน้ำ หรือเศษขนมติดขึ้นมา ถือว่าสุกดีแล้ว) เมื่อรอจนครบเวลาแล้วให้นำออกจากเตา และทาหน้าขนมด้วยน้ำมันหอมเจียว เพื่อให้หน้าเงางามมากขึ้น พักไว้ให้เย็นสนิท
- สุดท้ายโรยหน้าขนมด้วยหอมเจียวให้สวยงาม เพียงเท่านี้ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการทำ ขนมไทยทำง่าย ของเราในบทความนี้
บทสรุป
ขนมหม้อแกง ในสมัยก่อน มักจะทำกินกันเฉพาะในงานสำคัญ เช่น งานบุญ งานบวช งานแต่งงาน หรือทำใส่บาตรถวายพระเท่านั้น โดยในสมัยก่อนจะใช้เตาถ่าน และแผ่นสังกะสีคลุมบนถาดขนม ประกอบกับการใช้ถ่าน หรือกาบมะพร้าวจุดไฟ ก่อนจะเกลี่ยให้ทั่วสังกะสี ทำให้ได้รับความร้อนทั่วทั้งตัวขนม และนี่ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ตัวขนมหม้อแกงมีสีน้ำตาลทองอย่างที่เราเห็นกันในปัจจุบัน
สุดท้ายก่อนจากกันในบทความนี้ หากใครต้องการทำขนมด้วยตัวเอง ขอฝากบทความดีๆภายในเว็บไซต์ของเรา ให้คุณเลือกศึกษาสูตรขนมไทย เบเกอรี่ และอาหารที่หลากหลาย เพียงแค่อ่าน และทำตาม คุณเองก็สามารถทำขนมอร่อยๆด้วยตัวเองได้ทันที